การเปลี่ยนพัดลม Power Supply

Hello Hello ~~~  

วันนี้ขอเสนอคำศัพท์ภาษาอังกฤษ 
คำว่า  Power Supply อ่านว่า พาว-เวอร์-ซัพ-พลาย
(ลองอ่านออกเสียงด้วยนะคะ ไม่ต้องอายค่ะ ดัดจริตนิดนึง)
ความหมายภาษาไทยคือ แหล่งจ่ายไฟสำหรับคอมพิวเตอร์

เป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญอย่างมากต่ออุปกรณ์เกือบทุกตัวในระบบคอมพิวเตอร์ ซัพพลายของคอมพิวเตอร์นั้นมีลักษณะการทำงาน คือทำหน้าที่แปลงกระแสไฟฟ้าจาก 220 โวลต์ เป็น 3.3 โวลต์, 5 โวลต์ และ 12 โวลต์ ตามแต่ความต้องการของอุปกรณ์นั้นๆ โดยชนิดของพาวเวอร์ซัพพลาย ในคอมพิวเตอร์จะแบ่งได้เป็น 2 ชนิดตามเคส คือแบบ AT และแบบ ATX

ที่วันนี้มีการเสนอคำศัพท์ภาษาอังกฤษ คำว่า Power Supply กันไปนั้น ก็เพราะว่าวันนี้ เราจะมาทำการตรวจดูภายในเจ้า Power Supply ว่าเป็นอย่างไร และทำการรักษา อาจจะมีการผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะ (รู้สึกเหมือนตัวเองเป็นหมอที่กำลังจะผ่าตัดคนไข้อะไรอย่างนั้นเลย) เตรียมผ้าปิดตาไว้ด้วยก็ดีนะคะ ถ้าใจไม่แข็งพอก็อาจจะทนดูไม่ได้

         อันดับแรก เตรียมห้องผ่าตัดกันก่อนเลยนะคะ ไปแบกคอมมาค่ะ เครื่องเดิมเครื่องประจำเรานั้นล่ะค่ะ ได้มาแล้วก็ทำการถอยชิ้นส่วนของมันออกมา ถอยออกค่ะ ถอยออกให้หมด 
   
   

จนไปถึงชิ้นที่เราต้องการในวันนี้ นั้นก็คือ เจ้า Power Supply
                             

          ขั้นต่อมาเราก็จะเช็คดูนะคะว่าข้างใน เจ้า Power Supply มีอะไรกันบ้าง เราผ่าเข้ามาดูภายในของเจ้า จะเห็นอวัยวะต่างๆของมันนะคะ 


          ภารกิจที่เราได้รับคือการเปลี่ยนพัดลมของ Power Supply ความกลัวได้ก่อขึ้นในใจแล้วค่ะ มือกำไขควงแน่น เพราะต่อจากนี้จะมีไฟฟ้าเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งก็ถือว่าอันตรายมากนะคะ ต้องมีความระมัดระวังในการทำภารกิจนี้เป็นพิเศษ จะไม่ยอมเป็นอะไรไปเด็ดขาดค่ะ เพราะเป็นลูกสาวคนเดียวที่แม่รักมากกกกกกกกก เอาใจช่วยเราด้วยนะคะ

อุปกรณ์ในการเปลี่ยนพัดลม Power Supply ในครั้งนี้หลักๆประกอบไปด้วย 
ตะกั่วบัดกรี, หัวแร้งและที่ดูดตะกั่ว (ขอบอกว่าเพิ่งเคยมาโอกาสได้สัมผัสอุปกรณ์เหล่านี้เป็นครั้งแรก)



ขั้นแรก ภารกิจบอกว่า เราต้องเปลี่ยนพัดลม แน่นอนว่าเราจะต้องถอดพัดลมออกมาก่อนค่ะ โดยตอนถอดนี้ จะถอดสายไฟ 2 สายคือสายแดงและสายดำ ที่ติดอยู่กับแผงวงจรโดยการใช้หัวแร้งบัดกรีละลายตะกั่วเดิมออก ช่วงเวลานี้คือต้องใช้ที่ดูดตะกั่วมาดูดตะกั่วเดิมออกด้วยนะคะ เราก็จะได้พัดลมออกมาจากตัว Power Supply (ตอนทำช่วงนี้คือจะมีชายหนุ่มมาคอยช่วยเหลือเนื่องจากมีความกลัวมากค่ะ)


       
ขั้นต่อมาคือการเปลี่ยนพัดลมตัวใหม่ โดยการบัดกรีสายไฟ 2 สายเข้ากับแผงวงจร ของ Power Supply เราต้องจำด้วยนะว่าสายไหนอยู่ตรงไหน แล้วนำกลับเข้าที่เดิม ระวังอย่าให้ปลายสายไฟทั้ง 2 สายโดนกันตอนบัดกรีด้วยนะ 
ขั้นสุดท้าย นั้นคือการลุ้น ว่าพัดลมจะติดรึป่าว โดยการใช้โลหะเป็นตัวนำไฟฟ้าเสียบเข้ากับสาย Power Supply ที่ต่อกับเมนบอร์ด พิน ที่ 4และ5 ด้านบน แล้วเสียบปลั๊กไฟ จะตายไม่ตายก็ตอนนี้ล่ะ (ขอบอกว่ากลัวมาก กลัวว่าถ้ามันเกิดระเบิดขึ้นมาจะเป็นยังไง จะตายกันทั้งตึกมั๊ย)  


   สุดท้ายก็สำเร็จ มีชีวิตรอดกลับมาเขียนบล็อกค่ะ 

เรื่องนี้สอนให้รู้ว่า 
ไม่มีอะไรที่เราทำไม่ได้ ถ้าเราไม่ลงมือทำ ถึงมันจะต้องเอาชีวิตเราเป็นเดิมพันก็ตาม


ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น